You are currently viewing เที่ยวงานพ้อต่อบางเหนียวภูเก็ต เทศกาลเดียวเกี่ยวกับ‘ความตาย’
งานพ้อต่อบางเหนียวภูเก็ต

เที่ยวงานพ้อต่อบางเหนียวภูเก็ต เทศกาลเดียวเกี่ยวกับ‘ความตาย’

เลือกอ่านตามหัวข้อได้เลยครับ シ

เที่ยวงานพ้อต่อบางเหนียวภูเก็ต เทศกาลเดียวเกี่ยวกับ ‘ความตาย’

            หากพูดถึง ‘โลกวิญญาณหลังความตาย’ หรือ ‘เทศกาลปล่อยผีเมืองภูเก็ต’ คงพลาดไม่ได้กับประเพณีพ้อต่อ จังหวัดภูเก็ต ที่ได้มีการสืบสานด้านวัฒนธรรมและประเพณีมาอย่างยาวนานกว่าร้อยปี และภาพบรรยากาศภายในงานเป็นอย่างไรนั้น ตามมาดูกันได้เลยครับ :))

มาทำความรู้จัก ประเพณีพ้อต่อภูเก็ต

ทางเข้างานพ้อต่อบางเหนียว ซึ่งอยู่ติดกับโรงเรียนบางเหนียว อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

         “ประเพณีพ้อต่อภูเก็ต” คือ ‘ประเพณีวันสารทจีน ของชาวไทยเชื้อสายจีนของคนภูเก็ต’ ได้มีจัดขึ้นเพื่อทำบุญและอุทิศบุญส่วนกุศลให้แก่เหล่าดวงวิญญาณบรรพบุรุษ หรือ ผู้ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งประเพณีนี้ก็คล้ายๆกับประเพณีสารทเดือนสิบของชาวไทยพุทธนั่นเองครับ

โดยชาวภูเก็ตมีความเชื่อว่า เป็นช่วงเวลาที่ประตูนรกจะเปิดออก เพื่อปลดปล่อยเหล่าดวงวิญญาณต่างๆ ทั้งวิญญาณบรรพบุรุษและวิญญาณไร้ญาติ ให้กลับมาเยี่ยมเยือนบนโลกมนุษย์เป็นเวลา 1 เดือน 

ซึ่งในงานประเพณีพ้อต่อนี้ ประกอบพิธีไปด้วย พิธีบวงสรวง บำเพ็ญกุศล เพื่อเป็นการอุทิศบุญส่วนกุศล ส่งมอบให้แก่เหล่าดวงวิญญาณบรรพบุรุษและผู้ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ในอีกแง่คือ ‘เป็นการสื่อถึงความกตัญญูของลูกหลานเชื้อสายจีน’ ที่ได้มีการปฏิบัติสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีต่อเนื่องกันมา 140 กว่าปีเลยทีเดียว 

การประกอบพิธีพ้อต่อ จะมีการจัดเครื่องบวงสรวง ซึ่งมีทั้งอาหารคาวหวาน ผลไม้ต่างๆ และที่ขาดไม่ได้คือ ขนมเต่าสีแดง หรือที่เรียกว่า “อั่งกู๊” เรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของงานประเพณีพ้อต่อ หมายถึง การมีอายุยืนยาวเหมือนเต่านั่นเองครับ

ด้านการกำหนดจัดงานประเพณีพ้อต่อฯ ภูเก็ต เริ่มตั้งแต่วัน 15 ค่ำ เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีน ซึ่งตรงกับเดือนสิงหาคม – กันยายน ของทุกปีครับ

ประเพณีพ้อต่อภูเก็ต 2567 จัดงานที่ไหนบ้าง?

ในช่วงวันที่ 16 สิงหาคม - 2 กันยายน 2567 อ้างอิงข้อมูลจาก สภาวัฒนธรรมตำบลตลาดใหญ่
  • พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว (วันที่ 16 สิงหาคม 2567 เวลา 17.00 น.)
  • หน้าศาลเจ้าฮกหงวนก้ง (วันที่ 18 สิงหาคม 2567 เวลา 17.00 น. )
  • หน้าศาลจ้ออ๋อง (วันที่ 19 สิงหาคม 2567 เวลา 17.00 น. )
  • ตลาดสาธารณะ 1 (วันที่ 20 – 21 สิงหาคม 2567) 
  • ศาลเจ้าเซ่งเต็กเบ้วกวนอิมไตซื่อ (ผ้อต่อก้งบางเหนียว) (วันที่ 22 สิงหาคม – 2 กันยายน 2567) 
  • พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว (วันที่ 23 สิงหาคม 2567 เวลา 17.00 น.)
  • ชุมชนอ่าวเก (วันที่ 24 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00 น.)

ทำไมต้องไหว้ด้วยเต่าแดง เต่าแดงมีความสำคัญอย่างไร?

"เต่าแดง" หรือ “ขนมตั่วกู๊ (大龜) ในงานเทศกาลพ้อต่อ ณ ‘ศาลเจ้าเซ่งเต็กเบ้ว กวนอิมไต่ซือ’

          “เต่า” ถือเป็นสัตว์ที่มีความผูกพันกับวิถีชีวิตต่อชาวจีนโพ้นทะเล ได้แก่ ชาวจีนกวางตุ้ง แต้จิ๋ว ไหหลำ และฮกเกี้ยน ซึ่งมีถิ่นฐานตั้งอยู่ใกล้กับทะเล และมีความเชื่อว่าเต่าเป็นพาหนะของพระโพธิ์สัตว์กวนอิมและม่าจ้อโป้ (媽祖婆) ที่คอยช่วยคุ้มครองผู้คนในทะเลให้เดินทางอย่างปลอดภัย 

“ขนมเต่าแดง” , “ขนมอังกู๊ (紅龜)” หรือ “ขนมตั่วกู๊ (大龜)”  เป็นขนมสำคัญที่ขาดไม่ได้ในพิธีเซ่นไหว้ โดยเฉพาะในประเพณีพ้อต่อ หรือ ประเพณีวันสาทรจีน ที่มีจุดประสงค์หลักในการเซ่นไหว้แก่วิญญาณบรรพบุรุษและวิญญาณไร้ญาติ ขนมรูปเต่าจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของประเพณีพ้อต่อภูเก็ตจนถึงปัจจุบันนี้ครับ

ศาลเจ้าเซ่งเต็กเบ้ว ที่สถิต “ผ้อต่อก้ง” เทพเจ้าแห่งโลกหลังความตาย

เป็นเทศกาล 1 เดียวในภูเก็ต ที่อยู่คู่กันมามากกว่า 140 ปี

           ‘ศาลเจ้าเซ่งเต็กเบ้ว กวนอิมไต่ซือ’ หรือ ‘ศาลเจ้าผ้อต่อก้งบางเหนียว’ เป็นอีกหนึ่งศาลเจ้าเก่าแก่ที่อยู่คู่กับชาวชุมชนบางเหนียวและเป็นที่ประทับของ “องค์ผ้อต่อก้ง” เทพเจ้าแห่งโลกวิญญาณเพียงหนึ่งเดียวในภูเก็ต

“เซ่งเต็กเบ้ว” แปลว่า ศาลเจ้าเลิศกุศล เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ประจำชุมชนบางเหนียวสร้างขึ้นในช่วง พ.ศ. 2423 – 2433 ตามหลักฐานจากกระถางธูปที่จารึกข้อความว่า “ศาลเจ้านี้ สร้างขึ้นวันดี เดือนหก สมัยรัชกาลพระจักรพรรดิกวนสีแห่งราชวงศ์ชิง ขึ้นครองราชย์เป็น ปีที่ 6” ตรงกับปี ค.ศ. 1880 หรือ พ.ศ. 2423 

เดิมศาลเจ้าแห่งนี้เป็น ‘ศาลปุ่นเถ่าก๊งและพระโพธิสัตว์กวนอิม’ ต่อมามีการจัดพิธีพ้อต่อ จึงได้มีการขียนภาพลายเส้นองค์ผ้อต่อก้งขึ้น เป็นประธานของศาลเจ้า และบูรณะเป็นภาพปั่นนูนต่ำในเวลาต่อมา 

ถือได้ว่ามีเพียงแห่งเดียวในภูเก็ตและเป็นสถานที่เก่าแก่ ที่จัดงานพ้อต่อมาอย่างยาวนาน ภายในศาลเจ้ายังเต็มไปด้วยภาพจิตรกรรมจีน เล่าเรื่องอ่องซุ่นต่ายส่าย และเรื่องการลงทันฑ์ในนรกภูมิที่เขียนขึ้นแทนของเดิมในคราวบุรณะเมื่อปี พ.ศ. 2550

*อ้างอิง/ข้อมูลเพิ่มเติม: หนังสือรวมประวัติของศาลเจ้าเซ่งเต็กเบ่วบางเหนียวภูเก็ตและที่มาของประเพณีพ้อต่อบางเหนียว

พ้อต่อก้ง (กวนอิมไต่ซือ) คือใคร?

ไต่สือเอี้ย (大士爺) ,พ้อต่อก้ง (普渡公) หรือ กวนอิมไต่สือ(觀音大士) คือ ‘เทพผู้ควบคุมวิญญาณและโลกหลังความตาย’ หรือ ‘เทพเจ้าแห่งโลกวิญญาณ’ ในพิธีเดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีน โดยชาวภูเก็ตเชื่อว่าเป็นร่างอวตารขององค์ประโพธิ์สัตว์กวนอิม (นิรมาณกายขององค์พระโพธิสัตว์กวนอิมในรูปมหาเปรต) ที่แบ่งภาคไปโปรดสัตว์ในนรกภูมิ และคอยควบคุมดวงวิญญาณไม่ให้มารบกวน หรือ สร้างความวุ่นวายให้กับโลกมนุษย์ รวมถึงตามเหล่าวิญญาณที่ยังไม่ยอมกลับภพภูมิ
ไต่สือเอี้ย (大士爺) ,พ้อต่อก้ง (普渡公) หรือ กวนอิมไต่สือ(觀音大士) คือ ‘เทพผู้ควบคุมวิญญาณและโลกหลังความตาย’ หรือ ‘เทพเจ้าแห่งโลกวิญญาณ’ ในพิธีเดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีน

          ไต่สือเอี้ย (大士爺) ,พ้อต่อก้ง (普渡公) หรือ กวนอิมไต่สือ(觀音大士) คือ ‘เทพผู้ควบคุมวิญญาณและโลกหลังความตาย’ หรือ ‘เทพเจ้าแห่งโลกวิญญาณ’ ในพิธีเดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีน โดยชาวภูเก็ตเชื่อว่าเป็นร่างอวตารขององค์ประโพธิ์สัตว์กวนอิม (นิรมาณกายขององค์พระโพธิสัตว์กวนอิมในรูปมหาเปรต) ที่แบ่งภาคไปโปรดสัตว์ในนรกภูมิ และคอยควบคุมดวงวิญญาณไม่ให้มารบกวน หรือ สร้างความวุ่นวายให้กับโลกมนุษย์ รวมถึงตามเหล่าวิญญาณที่ยังไม่ยอมกลับภพภูมิ

*ข้อมูลเพิ่มเติม: ตามความเชื่อของสายมหายาน มีความเชื่อกันว่า ถ้าพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์องค์ไหนแบ่งภาคลงมา ก็จะมีรูปร่างขององค์นั้นๆอยู่บนเหนือศีรษะ

ทำไมต้องมางานพ้อต่อที่ ศาลเจ้าเซ่งเต็กเบ้ว (ศาลเจ้าพ้อต่อก้ง) บางเหนียว?

          เพราะที่ ศาลเจ้าเช่งเต็กเบ้วกวนอิมไต่ซื่อ (อ๊ามผ้อต่อ) บางเหนียว เป็นศาลเจ้าแห่งเดียวในภูเก็ต ที่เป็นที่สถิตขององค์ผ้อต่อก้ง ได้สืบสานวัฒนธรรมประเพณีพ้อต่อ (วันสารทจีน) อยู่คู่กับชาวภูเก็ตมายาวนานกว่า 140 ปี (เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2423) ซึ่งภายในศาลเจ้ามีจิตรกรรมฝาผนังและเหล่าภาพปั้นนูนต่ำเกี่ยวกับการลงทันฑ์ในนรกภูมิ เป็นศาลเจ้าเพียงไม่กี่แห่งของภูเก็ตที่มีภาพเขียนโบราณที่ยังเปิดให้เข้าชมในปัจจุบัน

นอกจากความเก่าแก่ของศาลเจ้าฯแล้ว บริเวณภายในงานก็จะมีทั้งร้านค้าร้านอาหารพื้นเมืองท้องถิ่นมากมาย รวมไปถึงมีงานจัดแสดงต่างๆ ทั้งลิเก งิ้ว หนังกลางแปลง งานแสดง และงานดนตรีต่างๆนานา ให้เลือกรับชมตามสบายเลยครับ

งานพ้อต่อฯ บางเหนียว เริ่มจัดงานวันที่เท่าไหร่?

งานประเพณีพ้อต่อภูเก็ต เริ่มจัดงาน ในวันพฤหัสบดี ที่ 22 สิงหาคม – 2 กันยายน 2567 เวลา 17.00 น. ณ ศาลเจ้าเช่งเต็กเบ้ว กวนอิมไต่ซื่อ (อ๊ามผ้อต่อ) และมีงานขบวนแห่ให้รับชม ตั้งแต่เวลา 16.00 น. ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี ถนนถลาง จังหวัดภูเก็ต

ซื้อขนมเต่าแดง (ขนมอังกู๊) ได้ที่ไหน?

เราสามารถซื้อขนมเต่าแดง หรือ อังกู๊ ได้ในบริเวณศาลเจ้าฯ ได้เลยครับ จะมีขนาดเริ่มต้นที่ 50 บาท/ตัว จนถึงราคาหลักร้อย (ตามกำลังศรัทธาของเราได้เลยครับ)

Tips: หลังจากที่ไหว้เต่าแดงเสร็จแล้ว หากต้องการนำกลับบ้าน เพื่อความสิริมงคล ก็สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ศาลเจ้าฯ ได้เลยครับ ไม่ต้องเกรงใจ

วิธีการเดินทาง ไปงานพ้อต่อฯ บางเหนียว

หากมาทางวงเวียนสุรินทร์ (หอนาฬิกา) ให้ขี่ตรงไปประมาณ 800 เมตร ให้สังเกตทางขวามือ ศาลเจ้าฯ จะอยู่ในซอยที่ติดกับโรงเรียนบางเหนียว ยิ่งช่วงเทศกาล ขอแนะนำว่าให้เดินทางมากับรถมอเตอร์ไซค์จะสะดวกมากกว่าครับ เนื่องจากรถยนต์ไม่ค่อยมีที่จอดรถมากนัก หรือสามารถนำรถไปจอดริมทางได้ครับ (แต่อาจจะต้องเดินไกลสักหน่อย T_T)

เวลาเปิด-ปิด งานพ้อต่อ (ผ้อต่อก้งบางเหนียว)

บทสรุป เที่ยวงานประเพณีพ้อต่อ ภูเก็ต

          งานประเพณี พ้อต่อภูเก็ต หรือ วันสารทจีน เป็นวัฒนธรรมประเพณีที่ได้มีการสืบทอดอยู่คู่กับคนภูเก็ตกันมามากกว่าร้อยปี งานประเพณีพ้อต่อนี้ เป็นการทำบุญและอุทิศบุญกุศลให้กับวิญญาณบรรพบุรุษและวิญญาณที่ไร้ญาติ ซึ่งคล้ายกับประเพณีสารทเดือนสิบของชาวไทยพุทธ และให้ผู้ที่จะกระทำความผิดได้รู้สึกเกรงกลัวต่อโทษทันฑ์ในนรก ผลที่เกิดจากการทำบาปนั่นเอง ตอกย้ำให้ผู้คนหันมา พูดดี คิดดี และทำดีต่อตนเองและผู้อื่นครับ

นอกจากจะอิ่มบุญแล้ว ยังอิ่มใจ และอิ่มท้องมากๆเพราะภายในงานพ้อต่อภูเก็ต มีร้านค้ามากมายให้เลือกทานกันแบบตาลายกันเลยทีเดียว xD

 .

.

ถ้าหากอยากติดตามเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีต่างๆของคนภูเก็ต (แนะนำโดยคนพื้นที่)

หรือ แชร์บทความนี้ไป “ชวนครอบครัวและคนรัก” ( ノ´ヮ`)ノ♡ ให้มาเที่ยวงานพ้อต่อ บางเหนียวภูเก็ต ด้วยกันทุกๆปีนะครับ ㋛

ขอบคุณมากๆที่อ่านบทความของเราจนจบ หวังว่าบทความเหล่านี้จะช่วยให้คุณได้เข้าใจในวัฒนธรรมของภูเก็ตมากขึ้นนะครับ แล้วพบกันใหม่อีกครั้งนะ ชาว Walker! บ๊ายยบายยย :’))

บทความส่งท้ายจาก Walker Thailand

จังหวัดภูเก็ต เป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย มีทั้งเกาะเล็กน้อยใหญ่อยู่รอบๆเกาะภูเก็ต ไม่ว่าจะเป็น เกาะเฮ เกาะราชาน้อย เกาะราชาใหญ่ หรือ หากคุณต้องการเดินทางไปเที่ยว หมู่เกาะพีพี เกาะลันตา หรือ จังหวัดกระบี่ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน ก็สามารถเดินทางด้วยเรือ ไปเช้า-เย็นกลับ ด้วยตนเองได้แบบสบายๆ และตรวจสอบตารางเวลาเดินเรือได้ตามรายละเอียดด้านล่างนี้

วันหยุดที่พิเศษ ได้พักผ่อนพร้อมกับครอบครัว

เราได้คัดเลือกรอบเวลาเรือเฟอร์รี่และเรือเร็วที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน เพื่อให้คุณได้ใช้วันหยุดพิเศษไปเที่ยวใกล้ภูเก็ต อาทิ เกาะพีพี กระบี่ หรือ เกาะลันตา ชวนครอบครัวและคนที่คุณรัก ชวนมาเที่ยวด้วยกันนะครับ!㋛